กิจกรรมที่ 5; Data for computer project

 แนวโน้มสภาพอากาศในอนาคต



สภาพภูมิอากาศโลกจะเป็นอย่างไรหากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอีก 2 องศาเซลเซียส ? ทีมนักวิจัยจากสวิตเซอร์แลนด์ชี้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศและฤดูกาลอย่างรุนแรงในเมืองสำคัญหลายร้อยแห่งภายในปี 2050 ซึ่ง 1 ใน 5 ของเมืองเหล่านี้จะมีสภาพภูมิอากาศแบบแปลกประหลาด ชนิดที่ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อนในโลก

สถาบันเทคโนโลยี ETH ซูริก ของสวิตเซอร์แลนด์ เผยผลการศึกษาล่าสุดในวารสารวิชาการ PLOS ONE โดยระบุว่าได้คาดการณ์ถึงระดับอุณหภูมิและสภาพภูมิอากาศในอีก 30 ปีข้างหน้าของเมืองใหญ่ 520 แห่งทั่วโลก โดยเจาะจงศึกษาถึงกรณีที่มนุษยชาติไม่สามารถต้านทานภาวะโลกร้อน และไม่อาจควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้

ทีมผู้วิจัยพบว่า สภาพการณ์ดังกล่าวจะนำไปสู่การที่เมืองในเขตอบอุ่นและเขตหนาวในซีกโลกเหนือ มีภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรง จนไปคล้ายกับเมืองที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากกว่าถึง 1 พันกิโลเมตร เช่นกรุงมาดริดของสเปนในอีก 30 ปีข้างหน้า จะมีสภาพอากาศแบบเดียวกับเมืองมาร์ราเคชของโมร็อกโกในทุกวันนี้ ส่วนกรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักรในอนาคตก็จะเปลี่ยนไปมีสภาพอากาศเหมือนกับนครบาร์เซโลนาของสเปนในปัจจุบัน

เมืองในภูมิภาคยุโรปหลายแห่งจะมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงขึ้นอีก 4.7 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว และร้อนขึ้นอีก 3.5 องศาเซลเซียสในฤดูร้อน แต่การที่เมืองหนาวมีอากาศอบอุ่นขึ้นนี้อาจไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป เพราะสภาพอากาศที่แปรปรวนอาจนำมาซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คน ความเสียหายทางเศรษฐกิจ และหายนะภัยที่ไม่คาดคิด

เกือบ 80% ของเมืองใหญ่ในรายงานวิจัยดังกล่าว จะต้องพบกับสภาพภูมิอากาศที่ผันแปรไปจากเดิมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองจำนวน 1 ใน 5 ของกลุ่มศึกษานี้ มีความเสี่ยงที่จะเปลี่ยนไปมีสภาพภูมิอากาศแบบแปลกประหลาด ชนิดที่ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อนในโลก คือจะเกิดอุทกภัยและภัยแล้งอย่างรุนแรงขึ้นพร้อมกันได้

เมืองในกลุ่มนี้รวมถึงกรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย, ประเทศสิงคโปร์, นครย่างกุ้งของเมียนมา และกรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย ซึ่งในอนาคตจะมีปัญหาหนักในเรื่องปริมาณน้ำฝนที่ไม่แน่นอน โดยจะทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่บ่อยครั้ง พร้อมกับเกิดภัยแล้งจัดถี่ขึ้นไปในขณะเดียวกัน

กรุงเทพมหานครไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ว่านี้ แต่รายงานวิจัยคาดการณ์ว่าเมืองหลวงของไทยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 3 องศาเซลเซียส ในปี 2050

ศาสตราจารย์โทมัส โครว์เทอร์ ผู้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการที่ดำเนินงานวิจัยนี้บอกว่า "มนุษย์ไม่เคยเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมในแบบที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่าเราจะต้องเจอกับปัญหาและความท้าทายใหม่ ๆ รอบด้าน ทั้งทางการเมืองและเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งไม่เคยมีการเตรียมความพร้อมรับมือกับหายนะภัยระดับนี้กันมาก่อนเลย"

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นางมามิ มิซึโทริ ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติด้านการลดความเสี่ยงต่อหายนะภัย ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนว่า ภัยพิบัติที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ กำลังเกิดบ่อยถี่ขึ้นในอัตราสูงถึงสัปดาห์ละครั้งทั่วโลก แต่ประเทศต่าง ๆแทบจะไม่มีการเตรียมความพร้อม หรือเสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์เหล่านี้เลย


การเปลี่ยนแปลงระบบภูมิอากาศ(climate system) โดยมนุษย์เกิดขึ้นจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ออกสู่บรรยากาศโลกในช่วง150 กว่าปีที่ผ่านมา ก๊าซเรือนกระจกดูดซับและกักเก็บความร้อนที่แผ่ออกจากโลก ผลคือโลกร้อนขึ้น กิจกรรมของมนุษย์ทั้งจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การตัดไม้ทำลายป่า และการทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมเร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนและในที่สุดนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นอันตราย

โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะในขณะที่กำลังเดินเครื่อง ได้ปล่อยควันจากการเผาไหม้ถ่านหินจากปลายปล่องในช่วงเช้า และเดินเครื่องอีกครั้งในช่วงเวลากลางคืน

การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้ ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติในภาคพลังงาน ภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคการคมนาคมขนส่งและภาคอุตสาหกรรมการผลิตยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง รายงาน Carbon Majors Database ยังระบุว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มีบริษัทอุตสาหกรรมฟอสซิลเพียง 100 แห่งที่เป็นแหล่งกำเนิดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกถึงร้อยละ 70

ภาพภูเขาหัวโล้นในจังหวัดน่าน ปัจจุบันชาวสวนนิยมปลูกข้าวโพดเป็นอาหารสัตว์เพื่อส่งขายให้กับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ การสำรวจในปี พ.ศ.2558 พบว่าการเผาป่าและการถางป่าเพื่อปลูกข้าวโพดในจังหวัดน่านมีส่วนทำให้ปรากฎการณ์เอลนิโญ่รุนแรงขึ้น

การตัดไม้ทำลายป่า

ในเขตขั้วโลกและแถบละติจูดกลาง ป่าไม้ช่วยควบคุมสภาพภูมิอากาศให้อุ่นขึ้น ส่วนป่าฝนเขตร้อน ใบไม้ของพรรณพืชช่วยจับความชื้นและปล่อยให้ระเหยออกมาช้าๆ เป็นเสมือนเครื่องจักรธรรมชาติ เมื่อผืนป่าถูกโค่นลงและมีการเผาป่าในพื้นที่ขนาดใหญ่ สภาพที่แห้งและร้อนขึ้นจะเข้าไปแทนที่

ป่าฝนเขตร้อนมีคาร์บอนไดออกไซด์กักเก็บอยู่ครึ่งหนึ่งของคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่ในพรรณพืชทั่วโลก เมื่อมีการเผาป่าไม้ คาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลจะปล่อยออกสู่บรรยากาศโลก ต้องใช้เวลาหลายทศวรรษไม่ว่าจะเป็นกลไกทางธรรมชาติหรือการปลูกป่าทดแทนเพื่อดึงคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศกลับคืนสมดุล

วัวที่ถูกเลี้ยงในฟาร์ม Tangara ที่ ซานตาอมาเลีย บราซิล

การทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม

การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมเชิงอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียวได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกใกล้เคียงกับการปล่อยจากภาคการคมนาคมขนส่ง นอกจากนี้ยังมีการใช้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของไนโตรเจนยังสามารถปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ได้อีกด้วย

ก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมมนุษย์ดังกล่าวนี้เมื่อปล่อยออกสู่บรรยากาศจะส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกไปอีกหลายทศวรรษ (หรืออาจเป็นหลายศตวรรษ) 

ขณะนี้ โลกของเราไม่อาจรองรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ได้อีกแล้ว

หากเราไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีโอกาสสูงอย่างยิ่งที่สังคมมนุษย์จะเผชิญกับความเสี่ยงจากเหตุการณ์สภาพอากาศแบบสุดขั้วและหายนะภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไม่สามารถย้อนกลับคืนเหมือนเดิม


ปัจจุบันคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ได้มีการพัฒนาภาพฉายการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกแบบใหม่ที่เรียกว่า Representative Concentration Pathways (RCP) ซึ่งใช้ในรายงานการ ประเมินครั้งที่ 5 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The Fifth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ AR5) โดยถือเอา ความเข้มข้น ของก๊าซเรือนกระจกเป็นจุดเริ่มต้นแล้วประเมินว่าที่ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกระดับ ต่างๆ กัน จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกระบวนการที่เกี่ยวข้องอย่างไร ในรายงาน AR5 ได้แบ่งสถานการณ์จ าลองเป็น 4 รูปแบบ เรียกว่า RCPs ใช้ในการวิจัยและสร้าง แบบจ าลองภูมิอากาศ โดยแสดงถึงความเป็นไปได้ด้านภูมิอากาศ 4 สถานการณ์ที่แสดงถึงปริมาณก๊าซ เรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาในแต่ละปีในอนาคต ประกอบด้วย RCP2.6, RCP4.5, RCP6, RCP8.5 ซึ่ง ตัวเลข 2.6, 4.5, 6 และ 8.5 ที่ต่อท้ายคือค่าความแตกต่างของการแผ่รังสี (Radiative force) ที่คาดการณ์ ไว้ในปี ค.ศ.2100 เทียบกับช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม ดังตาราง


 ตัวอย่างของประเทศไทย

ิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงปริมาณฝนในช่วงฤดูฝนของประเทศไทย โดยจ าลองสถานการณ์การเพิ่ม ของปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ได้ก าหนดความเป็นไปได้ และน ามา พิจารณา 2 รูปแบบ คือ A1 และ A1B โดยใช้แบบจ าลอง ECHAM4 ที่พัฒนามาจากแบบจ าลอง European Centre for Medium Range Weather Forecast: ECMWF โดย Max Planck Institute for Meteorology และ German Climate Computing Centre ประเทศเยอรมันนี และแบบจ าลอง ภูมิอากาศ HadCM3 (Hadley Centre Coupled Model, Version 3) ที่ถูกพัฒนาขึ้นที่ The Met Office Hadley Centre for Climate Prediction and Research ประเทศอังกฤษ วิเคราะห์ผลที่ได้จาก การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จากสถานการณ์แบบจ าลองที่แตกต่างกัน 4 รูปแบบดังนี้ ECHAM4 A2, HadCM3Q0A1B, HadCM3Q10A1B, HadCM3Q13A1B และข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดจริง

การคาดการณ์ปริมาณฝนช่วงฤดูฝนของประเทศไทยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950-2099 จาก 4 Scenario ECHAM4 A2, HadCM3Q0A1B, HadCM3Q10A1B, HadCM3Q13A1B, ข้อมูลตรวจวัด และแนวโน้ม
ส าหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของปริมาณฝนรายปีโดยภาพรวมของประเทศไทย มีแนวโน้ม เปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจนเช่นเดียวกับทุกภาคในประเทศไทย โดยจาก RCP 4.5 และ RCP 8.5 มีแนวโน้ม ลดลงเล็กน้อย และปริมาณฝนในอนาคตจากทั้งสอง RCP มีปริมาณใกล้เคียงไม่แตกต่างกันมาก อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบค่าคาดการณ์จาก RCP 8.5 และ RCP 4.5 กับค่าที่ตรวจวัดได้จริงในอดีตพบว่าต่ ากว่าค่าที่ ตรวจได้ค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับทุกภาคยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออก


ภาพแสดงการคาดการณ์อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ าสุดและปริมาณฝนรายปี จาก RCP 4.5 RCP 8.5 และ ค่าที่ตรวจวัดจริงของประเทศไทย

กำรเปลี่ยนแปลงในอนำคตของอุณหภูมิสูงที่สุด ต่ ำที่สุดรำยปี โดยภาพรวมของประเทศไทยจาก RCP 8.5 และ RCP 4.5 พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งอุณหภูมิต่ าสุด และอุณหภูมิสูงสุด แต่ RCP 8.5 มีค่าอุณหภูมิสูงกว่า RCP 4.5 ประมาณ 0.5-1 องศาเซลเซียสตั้งแต่ ปัจจุบันจนถึงประมาณปีค.ศ.2070 (พ.ศ.2613) หลังจากนั้นเป็นต้นไปมีค่าแตกต่างกันค่อนข้างสูงระหว่าง RCP 8.5 และ RCP 4.5 โดยอุณหภูมิสูงสุด RCP 8.5 มีค่าสูงสุดระหว่าง 41-43 องศาเซลเซียส และ RCP 4.5 มีค่าสูงสุดระหว่าง 40-41 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ าสุด RCP 8.5 มีค่าสูงสุดระหว่าง 15-17 องศา เซลเซียสและ RCP 4.5 มีค่าสูงสุดระหว่าง 13-14 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบค่า คาดการณ์กับค่าที่ตรวจวัดได้จริงในอดีตพบว่าอุณหภูมิสูงสุดมีค่าต่ ากว่าค่าจริงที่ตรวจวัดได้ค่อนข้างสูง 4-5 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิต่ าสุดมีค่าสูงกว่าค่าจริงที่ตรวจวัดได้มากกว่า 6 องศาเซลเซียส กำรเปลี่ยนแปลงในอนำคตของปริมำณฝนรำยปี ส าหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของปริมาณฝนรายปีโดยภาพรวมของประเทศไทย มีแนวโน้ม เปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจนเช่นเดียวกับทุกภาคในประเทศไทย โดยจาก RCP 4.5 และ RCP 8.5 มีแนวโน้ม ลดลงเล็กน้อย และปริมาณฝนในอนาคตจากทั้งสอง RCP มีปริมาณใกล้เคียงไม่แตกต่างกันมาก อย่างไร ก็ดี เมื่อเปรียบเทียบค่าคาดการณ์จาก RCP 8.5 และ RCP 4.5 กับค่าที่ตรวจวัดได้จริงในอดีตพบว่าค่า คาดการณ์ต่ ากว่าค่าที่ตรวจวัดได้ค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับทุกภาคของประเทศไทยยกเว้นภาคใต้ฝั่ง ตะวันออกที่มีปริมาณฝนใกล้เคียงกับค่าที่ตรวจวัดได้จริง นอกจากนี้ ผลการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ปริมาณฝนในช่วงฤดูฝนและปริมาณฝนรายปีจากการ วิเคราะห์ในครั้งนี้นั้น พบว่ามีลักษณะและอัตราการเพิ่มขึ้นและลดลงต่างกันไป ซึ่งได้จากการตั้ง สมมุติฐานในรูปแบบต่างๆ ทั้งในเชิงเวลาและในเชิงพื้นที่ ซึ่งขึ้นกับปัจจัยทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาคและ ระดับท้องถิ่นที่ซับซ้อนภายใต้เงื่อนไขต่างๆทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและอื่นๆ ที่ยาก ที่จะคาดการณ์สภาพภูมิอากาศล่วงหน้าให้แม่นย าได้ ผู้ใช้ต้องตระหนักว่า ผลการพยากรณ์หรือผลการ คาดการณ์สภาพภูมิอากาศที่ได้จากแบบจ าลองนั้น เป็นผลที่ได้จากการก าหนดสถานการณ์ทางภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ผลที่เกิดจากธรรมชาติที่แท้จริง การน าผลการวิเคราะห์ไปใช้งานโดยตรงต้องอาศัย ความรู้ ความเข้าใจก่อนน าไปประยุกต์ใช้ เนื่องจากจะส่งผลต่อการก าหนดนโยบายเพื่อใช้วางแผนในการ ปรับตัวในด้านต่างๆในอนาคต

นักวิทยาศาสตร์จากหลายองค์กรที่ทำหน้าที่ติดตามและประเมินสภาพและระบบสภาพภูมิอากาศ ระบุว่า ปัจจุบัน ประเทศทั่วโลกไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในข้อตกลงปารีสที่จะจำกัดไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2050

รายงาน United in Science 2021 เตือนว่า ความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศนั้นยังคงเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติศาสตร์ ทำให้เป็นที่แน่นอนว่าจะเกิดภาวะโลกร้อนยิ่งขึ้นในอนาคต รายงานดังกล่าวระบุว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของโลก ตั้งแต่เริ่มมีการเก็บสถิติในปี ค.ศ. 1850

นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้กล่าวว่า อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นจากการกระทำของมนุษย์นั้นทำให้อุณหภูมิในบริเวณขั้วโลกเหนือ ทวีปยุโรปและเอเชียเพิ่มสูงขึ้นกว่าระดับปกติ ซึ่งมีผลทำให้เกิดภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า พายุ และสภาพอากาศรุนแรงอื่น ๆ ทั่วโลก มากขึ้น และถี่ยิ่งขึ้นกว่าเดิม

FILE - An iceberg floats past Bylot Island in the Canadian Arctic Archipelago, July 24, 2017.
FILE - An iceberg floats past Bylot Island in the Canadian Arctic Archipelago, July 24, 2017.

ทาลาส เพทเทอรี่ (Taalas Petteri) เลขาธิการขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก กล่าวว่าเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงที่ก่อนหน้านี้เคยเกิดขึ้นทุก ๆ 100 ปีนั้น ปัจจุบันได้เกิดขึ้นทุก ๆ 20 ปี เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก หรือ climate change เพทเทอรี่เตือนว่า สภาพอากาศที่รุนแรงเหล่านี้จะเกิดถี่ขึ้นในอนาคตหากนานาประเทศทั่วโลกไม่ร่วมกันป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกินกว่า 2 องศาภายในอีก 30 ปีข้างหน้า

เลขาธิการขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ยังกล่าวว่าขณะนี้ อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก 3 องศาเซลเซียส แทนที่จะเป็น 1.5 ถึง 2 องศาเซลเซียส ตามเป้าที่ตั้งไว้ในข้อตกลงปารีส

รายงาน United in Science 2021 ยังระบุด้วยว่า การระบาดของโควิด-19 ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การล็อคดาวน์และการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงการระบาดนั้นได้ช่วยลดมลภาวะทางอากาศในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น หลังจากที่หลายเมืองในหลายประเทศกลับมาเปิดอีกครั้ง ปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศก็กลับขึ้นมาสูงอีกครั้ง

ทาลาสบอกว่ามาตรการบางอย่างสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ และช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ แต่ในการจะไปถึงจุดนั้น ทุกคนต้องร่วมใจกันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่เช่นนั้น ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะกลายเป็นปัญหาถาวรยาวนานหลายร้อย หรือหลายพันปี ในขณะที่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์จะยิ่งใหญ่กว่าปัจจุบันหลายเท่า ยิ่งกว่าผลกระทบของโควิด-19

United Nations Secretary General Antonio Guterres gives a statement next to European Commission President Ursula von der Leyen before their meeting at the European Commission headquarters in Brussels, Wednesday, June 23, 2021.
United Nations Secretary General Antonio Guterres gives a statement next to European Commission President Ursula von der Leyen before their meeting at the European Commission headquarters in Brussels, Wednesday, June 23, 2021.

นอกจากนี้ เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติ นาย อันโตนิโอ กูเทียเรส ยังเตือนว่าเวลาที่จะป้องกันปัญหาโลกร้อนใกล้จะหมดลงแล้ว และทุกประเทศทั่วโลกต้องร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 ก่อนที่จะไม่สามารถแก้ไขได้

นายกูเทียเรสยังให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ด้วยว่า การประชุมครั้งสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกในปลายปีนี้ ที่ประเทศสก็อตแลนด์ หรือ U.N. COP26 มีความเสี่ยงที่จะคว้าน้ำเหลว เพราะความไม่เชื่อใจกันระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา ตลอดจนการที่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ไม่ตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่มากพอ

การประชุม U.N. COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม ถึง 12 พฤศจิกายน เพื่อที่จะกดดันให้นานาประเทศลงมือทำตามมาตรการที่ใหญ่ท้าทาย และระดมเงินทุนจากหลายประเทศรอบโลกที่เข้าร่วม หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาเตือนว่าภาวะโลกร้อนกำลังเข้าใกล้ภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้

กูเทียเรสและนายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน จะเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุมผู้นำโลกขนานไปกับการประชุมสมัชชาใหญ่ขององค์การสหประชาชติ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้เพื่อพยายามหาโอกาสสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และทำความเข้าใจระหว่างแต่ละประเทศ ว่าแต่ละประเทศต้องลงมือทำมากขึ้น เพื่อให้การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลาสโกว์มีโอกาสสำเร็จ

เลขาธิการยูเอ็นกล่าวว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วจำเป็นต้องทำมากกว่าเดิม โดยเฉพาะในด้านการสนับสนุนประเทศที่กำลังพัฒนา ขณะเดียวกันก็ต้องให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ทำมากกว่าเดิม และมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมเพื่อลดการปล่อยก๊าสในชั้นบรรยากาศ

Global Warming
Global Warming

ประเทศที่กำลังพัฒนานั้นเป็นกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงต้องรับผลกระทบสูงจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และขณะเดียวกันก็มีทรัพยากรน้อยที่สุดในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว เป็นเวลาหลายปีแล่้วที่ประเทศเหล่านี้ ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเตรียมตัวรับมือกับผลกระทบดังกล่าว ซึ่งประเทศร่ำรวยได้ประกาศเมื่อปี 2009 ว่าจะระดมเงินเข้ากองทุนให้ได้ถึง 100,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี

เงินทุนที่ระดมได้ในช่วงที่ผ่านมา เป็นเงินทุนที่มุ่งไปที่การลดการปล่อยก๊าซในชั้นบรรยากาศ มีเพียง 21% ของเงินทุน 78,900 ล้านดอลลาร์เท่านั้นที่เป็นการช่วยประเทศกำลังพัฒนาปรับตัว

อย่างไรก็ตาม นายกูเทียเรส ไม่ให้น้ำหนักความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐฯ และผลกระทบต่อการให้ความร่วมมือของสองประเทศในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก จีนและสหรัฐฯ เป็นสองประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก โดยนายกูเทียเรสกล่าวแต่เพียงว่า เขาอยากขอร้องให้สหรัฐฯ และจีน ทำหน้าที่ของตัวเองก็พอ




โลกไปต่อไหวไหม – ซีเอ็นเอ็น รายงานผลการศึกษาล่าสุดพบว่าฝนตกหนักในเยอรมนีและพื้นที่ใกล้เคียงฝั่งยุโรปตะวันตกเมื่อเดือนกรกฎาคมปีนี้ มากกว่าปกติถึง เท่า เช่นเดียวกับผลศึกษาแนวโน้มสภาพอากาศในทิเบต ดินแดนหลังคาโลก จะเผชิญสภาพอากาศสุดขั้ว เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเกิดจากน้ำมือของมนุษย์

SDG Updates | หายนะจาก ‘สภาพอากาศร้อนจัด’ ผลกระทบวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่คร่าชีวิตคนทั่วโลก

สถานการณ์คลื่นความร้อนที่แผ่ปกคลุมประเทศกรีซตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม ทำให้อุณหภูมิในประเทศพุ่งสูงขึ้นถึง  47.1 องศาเซลเซียส  ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่เคยบันทึกไว้ในยุโรป นี่นับเป็นคลื่นความร้อนที่ปกคลุมกรีซครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 40 ปี พร้อมกันกับเหตุการณ์ไฟป่าจากความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นหลายจุด รัฐบาลกรีซจึงได้ประกาศเตือนภัยระดับสูงทั่วประเทศเพื่อให้ประชาชนตื่นตัวพร้อมรับมือ เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นอีกสัญญาณเตือนสำคัญของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่นับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อปี 2016 ผู้นำจาก 196 ประเทศ/รัฐ ลงนามใน Paris Agreement หรือ ‘ความตกลงปารีส’ ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC)  เพื่อยับยั้งผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสจากระดับในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ตามที่ตั้งเป้าไว้ก็ยังไม่คืบหน้าเพราะระดับการปล่อย COทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และถึงแม้ว่าในปี 2020 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะทำให้ปริมาณคาร์บอนลดลงมากที่สุดตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 2020 ก็สูงขึ้นเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมแล้วถึง 1.2 องศาเซลเซียส

รายงานอุณหภูมิโลกจากศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ระบุว่าอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยของโลกในปี 2020 ติด 3 อันดับแรกของปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เป็นอันดับสองรองจากปี 2016 เท่านั้น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงส่งผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะความเป็นกรดของน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังหมายถึงภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนอีกด้วย


” มีเพียงสี่สถานการณ์ที่สามารถคร่าชีวิตคนหลายร้อยล้านคนได้ นั่นคือ สงครามนิวเคลียร์ อุกกาบาต และโรคระบาดซึ่งล้วนแต่มีความเป็นไปได้ แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้นแล้ว ”

Sir Richard Feachem ผู้อำนวยการ Global Health Group ประจำ University of California, San Francisco


| การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หนึ่งในภัยคุกคามด้านสาธารณสุขที่ใหญ่ที่สุดในยุคเรา

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสุขภาพมนุษย์
ที่มา : CDC

รายงาน Global Risks Report 2020 จัดอันดับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามระดับโลกที่ใหญ่ที่สุด โดยเป็นหนึ่งในห้าความเสี่ยงระดับโลกที่สร้างความเสียหายหรือน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด (top risks by impact amd likelihood) อย่างที่กล่าวไปว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่เพียงส่งผลร้ายต่อธรรมชาติ วิกฤตนี้ส่งผลกระทบต่อปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่กำหนดสุขภาพของคน ทั้งอาหารและน้ำที่บริโภค อากาศที่ใช้หายใจ รวมไปถึงความเป็นอยู่และที่พักอาศัย ทำให้สุขภาพประชาชนแย่ลงและต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ โดยผลกระทบนี้ขยายตัวไปทั่วทุกภูมิภาคของโลกและทุกกลุ่มประเทศไม่ว่าจะอยู่ในระดับรายได้ใด โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ชุมชนและกลุ่มคนที่เปราะบาง เพราะต้องเผชิฐผลกระทบที่บ่อยขึ้นและผลกระทบนั้นคงอยู่นานกว่า ทำให้ความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศรุนแรงยิ่งขึ้น

องค์การอนามัยโลกได้การคาดการณ์ว่า ในอนาคตอันใกล้ ช่วงระหว่างปี 2030 – 2050 จะมีผู้เสียชีวิตจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งจากการขาดสารอาหาร โรคมาลาเรีย โรคท้องร่วง และความเครียดจากความร้อนเพิ่มอีกประมาณ 250,000 รายต่อปี โดยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา การเกิด ‘คลื่นความร้อน’ หรือ heatwave ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและกินเวลานานกว่าเดิมได้คร่าชีวิตคนทั่วโลกไปแล้วมากกว่า 166,000 คน


| หายนะจาก ‘อากาศร้อน’ ที่มีวิกฤตสภาพภูมิอากาศเป็นตัวเร่ง

การเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความร้อน (Heat-related illnessses and deaths) - สภาพอากาศร้อนจัด เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับความร้อนที่เพิ่มขึ้น ทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจและระบบทางเดินหายใจ ภาวะไตวาย ภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย นิ่วในไต ผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ และการคลอดก่อนกำหนด รวมถึงอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นระหว่างและหลังเกิดคลื่นความร้อน
แผนที่อุณหภูมิโลกปี 2020
ที่มา : NOAA Climate.gov

การต้องเผชิญกับอุณหภูมิสูงและคลื่นความร้อนส่งผลให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพตั้งแต่การเจ็บป่วยไปจนถึงการเสียชีวิต แม้ในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมาจะมีผู้เสียชีวิตจากอากาศหนาวเย็นมากกว่าความร้อน แต่วิกฤตสภาพภูมิอากาศในระยะยาวคาดว่าจะเพิ่มตัวเลขการตายที่เกี่ยวข้องกับความร้อนให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นในยุโรปเมื่อปี 2003 เป็นภัยพิบัติทางสภาพภูมิอากาศครั้งแรกที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่ามีความเชื่อมโยงกับวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้คร่าชีวิตผู้คนไปถึงประมาณ 70,000 คน ทั้งที่สามารถป้องกัยได้ โดยเฉพาะในปารีสที่มีคนเสียชีวิตถึงประมาณ 12,000 รายในเวลาแค่หนึ่งสัปดาห์ที่คลื่นความร้อนเกิดขึ้น และอีกหลายคนได้รับผลกระทบด้านสุขภาพอย่างรุนแรงซึ่งอาจคงอยู่นานหลังจากความร้อนสลายไปแล้ว

ในสหรัฐอเมริกา ความร้อนจัดคร่าชีวิตผู้คนในแต่ละปีมากกว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติประเภทอื่น ๆ การวิเคราะห์ในปี 2020 พบว่าจำนวนผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความร้อนในสหรัฐอเมริกาต่อปีที่อยู่ประมาณ 12,000 รายในขณะนี้ ถูกประเมินต่ำเกินไป และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความร้อนต่อปีอาจเพิ่มขึ้นถึงเก้าเท่าเป็นมากกว่า 100,000 รายภายในปี 2100 หากโลกยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูงเช่นนี้

เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สถานการณ์คลื่นความร้อนที่กระหน่ำพื้นที่ทางตะวันตกของแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ได้รับการระบุจากนักวิทยาศาสตร์ ว่าความรุนแรงในระดับนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งใน 1,000 ปี และ ‘แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย’ หากไม่มีอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในระดับโลก ข้อมูลจาก 43 ประเทศจากงานวิจัยในวารสาร Nature Climate Change ที่วิเคราะห์การเสียชีวิตของประชากรเกือบ 30 ล้านคน พบว่าจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากอากาศร้อนมากกว่า 1 ใน 3 มีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (anthropogenic climate change) และอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นนั้นปรากฏชัดในทุกทวีป

รายงาน Lancet Countdown on Health and Climate Change ประจำปี 2020 ซึ่งเป็นรายงานฉบับที่ 6 นับตั้งแต่ปี 2015 ที่ติดตามสถานการณ์ด้านสุขภาพที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แสดงข้อค้นพบสำคัญของข้อมูลการตายที่เกี่ยวข้องกับความร้อนจากปี 2000 – 2018 พบว่าอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความร้อนในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีเพิ่มขึ้นถึง 53.7% และในปี 2018 มีจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกมากถึง 296,000 ราย โดยตัวเลขผู้เสียชีวิตเหล่านี้เป็นผลมาจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้น ในซีกโลกตะวันออก จีนและอินเดียเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยมีผู้เสียชีวิต 62,000 คนและ 31,000 คนตามลำดับ เยอรมนีและอเมริกาเป็นประเทศซีกโลกตะวันตกที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยแต่ละประเทศมีผู้เสียชีวิตราว 20,000 ราย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์คลื่นความร้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดบ่อยครั้งขึ้น เมืองใหญ่ทั่วเอเชียได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อนอย่างกว้างขวางและรุนแรงกว่าในพื้นที่ชนบท เนื่องจากความร้อนที่แผดเผายังคงอยู่บนพื้นผิวต่าง ๆ เช่น อาคารและทางเท้า ทำให้เกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเมือง (urban heat island)

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อสุขภาพประชาชนในวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และสำหรับสภาพอากาศร้อนจัด จะมีผลต่อผู้ที่จำเป็นต้องทำงานกลางแจ้งมากกว่า สำหรับข้อมูลในประเทศไทย ข้อมูลจารายงานกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 – 2562 พบรายงานผู้เสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อนเฉลี่ยปีละ 38 ราย โดยในช่วงฤดูร้อนปีพ.ศ. 2562 ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูง 40 องศาเซลเซียส มีผู้เสียชีวิตถึง 57 ราย และเสียชีวิตมากที่สุดในเดือนเมษายน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไปในทางเดียวกับแนวโน้มระดับโลก

ข้อมูลรายประเทศขององค์การอนามัยโลกในปี 2015 ระบุว่า ภายใต้สถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความร้อนในผู้สูงอายุ (อายุ 65 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 58 รายต่อประชากร 100,000 รายภายในปี 2080 เมื่อเทียบกับค่าพื้นฐานที่ประมาณ 3 รายต่อ 100,000 รายต่อปีในระหว่างปี 1961 – 1990 ที่ผ่านมา การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงอย่างรวดเร็วเท่านั้นอาจช่วยจำกัดการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความร้อนในผู้สูงอายุให้เหลือเพียง 11 รายต่อประชากร 100,000 รายภายในปี 2080

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
● ปี 2543 – 2562 ภาวะโลกรวน-ภาวะโลกร้อน ทำให้คนทั่วโลกเสียชีวิตจากอุณหภูมิที่ ‘ไม่เหมาะสม’
 1 ใน 3 ของการตายจากอากาศร้อนเป็นผลมาจาก Climate Change ไทยได้รับผลกระทบเป็นลำดับต้น
 อ่านรายงานล่าสุด ‘สถานะสภาพภูมิอากาศของโลก 2563’: ดู Climate Change ว่าเป็นอย่างไรในช่วง 28 ปีที่ผ่านมา
 รายงานเผย ผลกระทบจากวิกฤติสภาพภูมิอากาศสร้าง ‘ต้นทุนแฝง’ มหาศาลต่อปัญหาสุขภาพจิต


| เมื่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ‘ไม่เป็นธรรม’

รายงานจาก Lancet ระบุว่าไม่มีประเทศใด – ไม่ว่าจะรวยหรือจน – ได้รับการยกเว้นจากผลกระทบด้านสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายลงนี้ แต่ในความเป็นจริงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะความร้อนจัดที่เพิ่มขึ้นนี้กลับเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมต่ออทุกฝ่าย

แม้ว่าอัตราการเสียชีวิตจากความร้อนมากกว่าหนึ่งในสามที่สามารถเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เกิดขึ้นกระจายตัวไปทั่วโลก แต่ในบางประเทศ เช่น ในอเมริกาใต้ คูเวต อิหร่าน และบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลับมีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงขึ้นมากกว่า โดยมากถึง 77% ในเอกวาดอร์ และ 61% ในฟิลิปปินส์ ความเหลื่อมล้ำนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะพื้นที่เหล่านี้อยู่ในเขตที่มีอากาศร้อนเป็นพิเศษ แต่ยังมาจากอุปสรรคการเข้าถึงเครื่องปรับอากาศหรือบ้านที่สามารถกระจายความร้อนได้ดี รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น พื้นที่สีเขียวในเมืองที่อาจช่วยลดความเปราะบางต่อการเผชิญความร้อนของผู้คนได้

จะเห็นได้ว่าประเทศที่ได้รับผลกระทบมากกว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาหรือพัฒนาน้อยที่สุด ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางเศรษฐกินน้อยกว่า ประเทศพัฒนาแล้วขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกามีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงประมาณ 25% ของปริมาณทั้งหมดที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ ในขณะที่ กัวเตมาลา มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนเพียงประมาณ 0.0002% เท่านั้น แต่กว่า 75% ของการเสียชีวิตจากความร้อนในประเทศนั้นเชื่อมโยงกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่เพียงเท่านั้น การวิเคราะห์ล่าสุดยังพบว่าการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 4,434 เมตริกตัน ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดช่วงชีวิตปัจจุบันของชาวอเมริกัน 3.5 คน ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นมากพอที่จะทำให้ประชาชนหนึ่งคนในโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร


| เปรียบเทียบวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เป็นอีกหนึ่งวิกฤตสาธารณสุข

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างความท้าทายต่อระบบดูแลสุขภาพที่คล้ายคลึงกับการเกิดโควิด-19 แม้ว่าจะรุนแรงน้อยกว่า แต่เนื่องจากเหตุการณ์สภาพอากาศที่เลวร้ายจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้น นานขึ้น ประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องรีบระบุกลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดก่อนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เร็วที่สุด และลงทุนในระบบดูแลสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่าสถานพยาบาลและกำลังคนในภาคสุขภาพจะไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวนมากจนไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มสมรรถภาพ และเช่นเดียวกับสถานการณ์โรคระบาด การป้องกันผลกระทบด้านสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ให้เกิดขึ้นย่อมดีกว่าการรักษาและแก้ไขเมื่อเกิดขึ้นแล้ว

ดังนั้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุข เสริมสร้างศักยภาพ ทักษะของประชาชนในการจัดการต่อความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามบริบทของพื้นที่ ประเทศไทยนำโดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านสาธารณสุข ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564-2573) โดยมีจุดประสงค์เพื่อ “ลดการเจ็บป่วยของประชาชน ลดผลกระทบต่อประเทศ และเป็นศูนย์กลางในระดับเอเชียในการจัดการกับความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”


แม้ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดจะหยุดลงในวันพรุ่งนี้ แต่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกก็คงไม่ได้ลดลงในทันที และนั่นจะทำให้เหตุการณ์สภาพอากาศร้อนจัดที่หลายประเทศเผชิญอยู่ในปัจจุบันยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง แต่เหตุการณ์นี้จะส่งผลกระทบร้ายแรงมากขึ้นเพียงใดในอนาคต ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับความร่วมมือในการดำเนินการเพื่อจัดการวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศที่ทุกคนกำลังทำอยู่ในวันนี้



ที่มา https://www.bbc.com/thai/international-48965966

http://climate.tmd.go.th/content/file/253

https://www.sdgmove.com/2021/08/05/sdg-updates-extream-heat-kills-and-worsen-by-climate-change/

https://www.greenpeace.org/thailand/explore/protect/climate/climate-change/

https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_6582654

เรียบเรียงข้อมูลโดย นางสาวนภสร จันทร์ตา เลขที่ 27 ชั้น ม.6/9


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์