พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์


ที่มา : เมื่อพ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ ผ่านสนช. รัฐจะเข้าถึง-ทดสอบ-อายัดคอมพ์ได้ ไม่ต้องมีหมายศาล!
 | THE MOMENTUM

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร?

            พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือ พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ค่ะ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนด


ความแตกต่างของพรบ.คอมพิวเตอร์ฉบับปี 2550 และ ปี 2560?


 ที่มาจาก : https://youtu.be/etxwU6RRMY4

        พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ใช่พ.ร.บ.ฉบับแรกที่ถูกประกาศใช้ แต่เป็นฉบับที่ 2 ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาจากฉบับแรก โดยเน้นเรื่องของบทลงโทษ ได้แก่ การนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศและประชาชน จากที่พ.ร.บ.ฉบับเดิม กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี และปรับตั้งแต่ 6หมื่นบาทแต่ไม่เกิน 2 แสนบาท เปลี่ยนเป็นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี และปรับตั้งแต่ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท รวมถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความแก่ประชาชน พ.ร.บ. ปี 2560 ก็ได้กำหนดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท         

        ในประเด็นของผู้ให้บริการที่ไม่ลบเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ซึ่งระบุไว้ในพ.ร.บ.ฉบับเดิมที่ผู้ให้บริการจะได้รับโทษก็ต่อเมื่อมีเจตนาที่จะสนับสนุนหรือยินยอมเท่านั้น แต่ในพ.ร.บ.ฉบับใหม่จะมีการระบุความรับผิดชอบก็ต่อเมื่อผู้ให้บริการร่วมมือหรือรู้เห็นเป็นใจเท่านั้น หากผู้ให้บริการได้รับการแจ้งเตือนแล้วลบข้อมูลเหล่านั้นทิ้งก็จะไม่ต้องรับโทษแต่อย่างใด ส่วนการส่งข้อความในลักษณะของ Spam mail ในพ.ร.บ. ปี 2560ก็ได้มีการเพิ่มโทษจากโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท เป็นโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาทด้วย                                        

        นอกจากนี้พรบ.คอมพิวเตอร์ ปี 2560 ยังได้มีการเพิ่มการกระทำที่ก่อความเสียหายให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีและปรับไม่เกิน 2 แสนบาท รวมถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบความมั่นคง ที่แต่เดิมไม่มีโทษเฉพาะ พรบ.ฉบับใหม่ได้มีการกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 2 หมื่น – 2 แสนบาท          

        ใครที่ยังไม่รู้ว่าพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มีการแก้ไขและปรับปรุงเพิ่มเติมจากฉบับแรกและได้มีการประกาศใช้เรียบร้อยแล้ว ต้องทำการอัพเดทความรู้โดยด่วน เพราะหากพลาดพลั้งทำอะไรลงไปในโลกออนไลน์โดยไม่ได้ไตร่ตรองล่วงหน้า อาจจะเข้าข่ายการก


ความสำคัญของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์?

             พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เป็นกฎหมายที่บังคับใช้กับการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ทั้งหลาย เนื่องด้วยปัจจุบันมีข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ มากมายอยู่ในอินเตอร์เน็ตที่ผ่านการนำเข้าและการเรียกดูจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป แท็บเลต และสมาร์ทโฟนจำนวนมาก ซึ่งข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏในโลกออนไลน์เหล่านั้นมีทั้งข้อมูลที่เป็นความจริง รวมถึงข้อมูลที่เป็นเท็จ อีกทั้งยังมีการกระทำซึ่งเป็นเจตนาของการนำเข้าข้อมูลที่บิดเบือน ปลอมแปลง ไปจนถึงการทำลายระบบเพื่อสร้างความเสียหายให้กับตัวบุคคลและส่วนรวม พรบ.คอมพิวเตอร์จึงเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญในการบังคับใช้ หากมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น พรบ.ฉบับนี้จะช่วยให้ผู้กระทำผิดได้รับการลงโทษตามกฎหมายได้

ที่มา : https://ictlawcenter.etda.or.th/news/detail/computer-2559


13 ข้อต้องรู้ พ.ร.บ คอมพ์ฉบับใหม่บังคับใช้แล้ว!!!
  
คือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560  
สรุปได้ 13 ข้อหลักๆดังนี้


ที่มา : สาระสำคัญ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒)  
พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์
1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ หากเข้าไปเจาะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต (ละเมิด Privacy) หรือในเคสที่เรารู้จักกันดีก็คือ การปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง หรือพวกแฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นก็มีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่ะ   
บทลงโทษ เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย: จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ    
2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย ในข้อนี้จะรวมหมายถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างเช่น กรณีของกลุ่มคนที่ไม่ชอบใจกับการกระทำของอีกฝ่าย แล้วต่อต้านด้วยการเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบเว็บไซต์ของฝ่ายตรงข้าม ให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิดค่ะ   
บทลงโทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ     
3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม ข้อนี้ก็เข้ากับประเด็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือนักการตลาดที่ส่งอีเมลขายของที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับ หรือที่รู้จักกันว่า อีเมลสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook กับ IG ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และยังรวมถึงคนที่ขโมย Database ลูกค้าจากคนอื่น แล้วส่งอีเมลขายของตัวเองค่ะ   
บทลงโทษ   ถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ    
4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดค่ะ เพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่ายข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก และล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย   
บทลงโทษ กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท  กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท   
5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้)  
บทลงโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด  ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 12 ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย   
6. นำข้อมูลที่ผิด พ.ร.บ. เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ในความผิดมาตรา 14 จะระบุโทษการนำข้อมูลที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ข้อความผิดด้วยกันคือ  โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง (อย่างเช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริงๆ เป็นต้น) โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้ เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด (อย่างเช่น กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็มีความผิดค่ะ )  
บทลงโทษ   หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)  
7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น แล้วมีความคิดเห็นที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิดค่ะ แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ และลบออก จะถือว่าเป็นผู้ที่พ้นความผิด   
บทลงโทษ  แต่ถ้าไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร 14 ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ    
8. ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ  ความผิดข้อนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลักคือ  • การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อย่างเช่นกรณีที่เอาภาพดาราไปตัดต่อ และตกแต่งเรื่องขึ้นมา จนทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย ก็ถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่ะ  • การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย   
บทลงโทษ  หากทำผิดตามนี้ ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท    
9. เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเยาวชน ต้องกระทำโดยปกปิดไม่ให้ทราบตัวตน ข้อนี้มีขึ้นเพื่อปกป้องเด็กและเยาวชน เพราะเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือก็คือยังเป็นเด็กอยู่ หากถูกเปิดเผยตัวตน อาจทำให้ใช้ชีวิตในสังคมได้ลำบากขึ้น อาจเกิดการถูกดูหมิ่น เกลียดชัง หรือโดนตามตัวโดยมิจฉาชีพได้ แต่ข้อห้ามนี้ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกันคือ สามารถเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนได้ หากข้อมูลนั้นเป็นการยกย่อง เชิดชู ให้เกียรติ  
บทลงโทษ   จำคุก 1-3 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท 
10. เผยแพร่เนื้อหาลามก อนาจาร เป็นเรื่องที่ทราบดีอยู่แล้ว และใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับนี้เอง ก็ห้ามเปิดเผยเนื้อหาลามก อนาจาร สู่สาธารณะ ที่คนอื่นๆ สามารถเห็นได้   
บทลงโทษ  จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  
11. กด Like & Share ถือเป็นวิธีหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล คิดว่าคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักกับปุ่มไลค์กับปุ่มแชร์บนโลก Social Media หรอกใช่ไหมคะ  และก็เชื่อด้วยว่าวันๆ หนึ่ง เรากดปุ่มพวกนี้กันอยู่เสมอ เมื่อใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ กำหนดว่าการกด Like & Share ถือเป็นการเผยแพร่ข้อมูล ก็แสดงว่าหากข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลปลอม เท็จ หรืออะไรก็ตามแต่ นั่นเท่ากับว่าเราผิดกฎหมาย พ.ร.บ. แล้ว  ดังนั้นก่อนไลค์ก่อนแชร์ ก็พิจารณากันให้ชัวร์นะคะ  
บทลงโทษ   จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ    
12. แสดงความคิดเห็นที่ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หากคุณมีเพจเป็นของตัวเอง การหมั่นเช็คข้อความบนหน้าเพจก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากถูกตรวจเจอข้อความที่ผิดกฎหมาย คุณจะมีความผิดด้วย   
บทลงโทษ  จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ    
13. ละเมิดลิขสิทธิ์ นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ข้อนี้สำคัญ ควรต้องระวังไว้ให้มาก การนำผลงานของคนอื่นมาเป็นของตนเอง โดยปกติก็เป็นสิ่งที่ไม่ดีอยู่แล้ว ซึ่งใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็ได้มีการให้โทษกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย โดยหากนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ จะถือว่ามีความผิด และต้องได้รับโทษ   
บทลงโทษ   จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ      
        นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งยังมีอีกหลายประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นจึงควรรู้กฎกติกาการใช้งานไว้ก่อน ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เราเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายได้  


ที่มา :  http://www1.ldd.go.th/web_enactment/enact2560.html


ที่มา : http://www.blhos.com/index.php/news/33-news-3



พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์   (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐



กรณีศึกษา: การทำผิดกฎหมายคอมพิวเตอร์  
ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์!!!

'หมายเรียก' โพสต์ตึกทรุด คุณหมอ'เอิร์ท' ผิดพรบ.คอมพ์

        ตำรวจ สน.ลุมพินี ออกหมายเรียก “หมอ เอิร์ท” แพทย์คลินิกศัลยกรรมความงาม มาพบ เพื่อแจ้งข้อหาความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ หลังโพสต์ภาพและข้อความอาคารอยู่ระหว่างก่อสร้างย่านเพลินจิต ทรุดเอียงใกล้ถล่ม สร้างความตื่นตระหนก หลังเจ้าของอาคารแจ้งความไว้ที่ สน.ลุมพินี   จากกรณีมีผู้โพสต์ภาพและข้อความในโลกโซเชียลว่า อาคารโรสวู้ด แบงค็อก โฮเทล บริเวณแยกเพลินจิต ใกล้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เพลินจิต ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม. อาคารขนาดใหญ่อยู่ระหว่างก่อสร้าง มีลักษณะคล้ายทรุดเอียงเหมือนใกล้ถล่มลงมา สร้างความตื่นตระหนกหวาดกลัวกับประชาชน ต่อมา พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ผบช.น. สั่งให้ตำรวจ บก.น.5 สืบหาต้นตอข้อความเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย หากมีเจตนาไม่สุจริต           
        ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 17 ส.ค. พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ผบช.น. กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ว่า เมื่อช่วงเย็นวันที่ 16 ส.ค. เจ้าของอาคารโรสวู้ด แบงค็อก โฮเทล เข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษในฐานะผู้เสียหายเรียบร้อยแล้วที่ สน.ลุมพินี ตรวจสอบพบผู้โพสต์ส่งต่อข้อความมากกว่า 100 ราย ในจำนวนนี้มีอยู่ 1 ราย เข้าข่ายกระทำความผิดอยู่ระหว่างติดตามตัวมาสอบสวนดำเนินคดี เนื่องจากโพสต์ข้อความเป็นเท็จ ก่อให้เกิดความไม่สงบและส่งผลกระทบความเสียหายต่อประชาชน ขณะนี้พนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี สอบปากคำพยาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและเจ้าของตึก ทั้งหมดยืนยันข้อความที่ผู้โพสต์เขียนเป็นเท็จ ส่วนผู้โพสต์รายอื่นอยู่ระหว่างตรวจสอบว่ามีความผิดหรือไม่ หากมีเจตนาบอกเตือนให้คนอื่นรับรู้ระมัดระวังก็ไม่เข้าข่ายความผิด           
        “ทุกคนมีสิทธิโพสต์ภาพและส่งข้อความได้แต่ขอให้มีเจตนาสุจริต ต้องไม่ทำอะไรที่พิลึกคึกคะนอง หากไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วนำไปเผยแพร่ส่งต่ออาจมีความผิด ผมไม่อยากใช้กฎหมายมาข่มขู่หรือพูดให้เกิดความรู้สึกไม่ดี แต่บางครั้งต้องใช้กฎหมายคุ้มครองให้บ้านเมืองสงบ ควรระมัดระวังตรวจสอบว่ามีการบิดเบือนข้อเท็จจริงหรือไม่ ข้อความเป็นเท็จบางส่วนก็มีความผิดแล้ว ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก” พล.ต.ท.ศานิตย์กล่าว มีรายงานว่าขณะนี้ พ.ต.ต. เทิดศักดิ์ มนัสชน สว. (สอบสวน) สน.ลุมพินี ออกหมายเรียกครั้งแรกให้ นพ.กนกศักดิ์ จงใจภักดิ์ หรือหมอเอิร์ท แพทย์ผิวหนังของคลินิกศัลยกรรมความงามแห่งหนึ่ง มาพบเพื่อสอบสวน ก่อนแจ้งข้อหาตามความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ตามขั้นตอน หลังโพสต์ภาพตึกระบุข้อความว่า “BREAKING NEWS 15 ส.ค.60 12.45 น. คอนโดที่กำลังสร้างใหม่ตรงรถไฟฟ้าสถานีเพลินจิต ฝั่งตรงข้ามอาคารมหาทุนพลาซ่า เกิดอาคารทรุดตัวและเอียงตัว ชาวบ้านร้านค้าตลอดย่านเพลินจิตต่างพากันมายืนมุงดูด้วยความลุ้นระทึกว่าตึกจะถล่มลงมาหรือไม่ด้วยความอกสั่นขวัญแขวน จากการประเมินด้วยสายตา ขณะนี้ไม่มีคนงานก่อสร้างอยู่บนอาคารแล้ว คาดว่าคงหยุดการก่อสร้างชั่วคราว รอติดตามสถานการณ์ต่อไปนะครับ”  
ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1041702

 ชัยวุฒิ'ลั่นจัดการ'ดวงฤทธิ์' ผิดพรบ.คอมพ์ปั่นข่าวซิโนฟาร์ม “ชัยวุฒิ” ชี้ “แอคแคปฯ-ดวงฤทธิ์” ปมปั่นข่าวซิโนฟาร์ม เชื่อขบวนการดิสเครดิตรัฐบาล ทำสังคมสับสน ชี้ความผิดสำเร็จแล้ว สั่งเอาเรื่องถึงที่สุด...

        จากกรณีที่ในสังคมออนไลน์ได้เผยแพร่หนังสือ บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด (บริษัท แอคแคปฯ) ที่ทำถึงราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยมีเนื้อหาอ้างว่า บริษัท แอคแคปฯ สามารถจัดหาวัคซีนซิโนฟาร์ม จำนวน 20 ล้านโด๊ส และสามารถจัดส่งให้ได้ภายใน 2 สัปดาห์ แต่ไม่สามารถติดต่อขอเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ได้ จนมีการเผยแพร่หนังสือฉบับดังกล่าวอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดถึงการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของรัฐบาล เมื่อวันที่ 27 พ.ค.64 ที่ผ่านมานั้น
        เมื่อวันที่ 29 พ.ค. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center) ตรวจสอบเบื้องต้นกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่าบริษัท แอคแคปฯ ไม่มีชื่อยื่นขึ้นทะเบียนนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์ม รวมทั้งยังจดทะเบียนทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ไม่มีคุณสมบัตินำเข้ายาและเวชภัณฑ์ และไม่ได้เป็นตัวแทนของผู้ผลิตวัคซีนซิโนฟาร์มจริง ซึ่งภายหลังปรากฏเป็นข่าว ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้อำนวยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ก็ได้ปฏิเสธ พร้อมชี้แจงแล้วว่า ลักษณะของบริษัทไม่น่าเชื่อถือ และไม่มี Dossier หรือเอกสารประกอบรายการประกอบยาและการผลิตจากบริษัทเจ้าของวัคซีน เพื่อมาใช้ขอใบอนุญาตต่อ อย.แต่อย่างใด ดังนั้นหนังสือฉบับดังกล่าวนั้น จึงเป็นข้อความที่บิดเบือน และทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน เป็นการกระทำดังกล่าวที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ) เช่นเดียวกับผู้ที่นำข้อมูลดังกล่าวไปเผยแพร่ หรือส่งต่อก็จะเข้าข่ายมีความผิดเช่นกัน   
        “กระทรวงดีอีเอส กำลังประสานข้อมูลกับ บก.ปอท. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์) รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรวบรวมหลักฐานแล้ว และดำเนินการเอาผิดผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังติดตามตัวกรรมการผู้จัดการผู้ลงนามทั้ง 2 รายในหนังสือมาให้ข้อมูล และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนังสือฉบับดังกล่าว เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายต่อไป” นายชัยวุฒิ กล่าว   
        นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีบุคคลและกลุ่มบุคคลนำไปวิพากษ์วิจารณ์และกล่าวหาในทำนองว่า รัฐบาลมีการเรียกรับผลประโยชน์จากการขึ้นทะเบียนและจัดหาวัคซีนโควิด-19 ซึ่งเข้าข่ายการหมิ่นประมาท และเสนอข้อมูลเท็จอย่างชัดเจนเช่นกันเพราะการขึ้นทะเบียนและนำเข้าวัคซีนมีระเบียบขั้นตอนการดำเนินการตามช่องทางกฎหมายอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเข้าพบใครเป็นพิเศษ น่าสังเกตว่า ที่ผ่านมาเกิดความพยายามในการตั้งประเด็นโจมตีการบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง และรุนแรงขึ้น มองได้ว่า มีการวางแผนเป็นขบวนการเพื่อดิสเครดิตรัฐบาลหรือไม่  
        เห็นได้ชัดจากกรณี บริษัท แอคแคปฯ ที่ผู้เกี่ยวข้องในส่วนของภาครัฐต่างออกมาปฏิเสธไปแล้ว แต่ทราบว่า เมื่อคืนวันที่ 27 พ.ค.64 นายดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิก และแกนนำกลุ่มแคร์ คิดเคลื่อนไทย ที่มักร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทย นำไปพูดคุยแสดงความคิดเห็นผ่านแอพพลิเคชั่นคลับเฮาส์ โดยมีเนื้อหาสาระให้เกิดความสับสนขึ้นในสังคม ตลอดจนสร้างความเสียหายให้แก่รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้อง มีการพูดถึงขั้นว่า มีคนเรียกค่าพาเข้าพบนายกรัฐมนตรี กับบริษัทดังกล่าว เพื่อให้มีช่องทางเจรจานำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์ม โดยแลกกับเงิน 5 ล้านบาทอีกด้วย และเมื่อต้นเดือน พ.ค.64 นายดวงฤทธิ์ก็เคยทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์อ้างว่า มีรุ่นน้องที่รู้จักกันพยายามนำวัคซีนซิโนฟาร์ม 20 ล้านโด๊สให้รัฐบาล และระบุว่า “ประสานไปที่คนของรัฐบาลทุกช่องทางแล้ว มันถามหาผลประโยชน์ตอบแทนกันก่อนหมดเลย” จนมีผู้มารีทวิตหรือเผยแพร่ข้อความต่อจำนวนมาก และยังมีหลักฐานว่า มีความสนิทสนมกับ นายกรกฤษณ์ กิติสิน หนึ่งในผู้บริหารของบริษัท แอคแคปฯ ด้วย หรือเมื่อต้นเดือน ม.ค.64 ก็ทวีตในทำนองว่า มีคนบางกลุ่มได้สิทธิซื้อวัคซีนโควิด-19 แล้ว ทั้งที่กระบวนการทุกอย่างมีการเปิดเผยโปร่งใสโดยตลอด   
        “ทั้งการที่บริษัท แอคแคปฯ ถูกเปิดโปงว่า ไม่ใช่ผู้แทนซิโนฟาร์มจริง และการทวีตข้อความในประเด็นเดียวกันล่วงหน้าของคุณดวงฤทธิ์ ทำให้สามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่าอาจเป็นขบวนการเดียวกันที่ต้องการสร้างความสับสนและดิสเครดิตรัฐบาล เรื่องนี้กระทรวงดีอีเอสได้รวบรวมหลักฐานการเผยแพร่ข้อความในแพลตฟอร์มต่างๆ รวมทั้งการพูดคุยใน แอพคลับเฮาส์ล่าสุดไว้ทั้งหมดแล้ว ขณะนี้ได้ให้ฝ่ายกฎหมายทำการสรุปว่า มีผู้กระทำผิดกี่รายอย่างไรบ้าง เพื่อดำเนินคดีอย่างเร่งด่วนต่อไป” รมว.ดีอีเอส กล่าว   
        นายชัยวุฒิ กล่าวอีกว่า การที่มีการออกมาโพสต์ว่ามีการเรียกเงิน 5 ล้านบาท หรือมีการเรียกผลประโยชน์จากการจัดหาวัคซีนโควิด-19 นั้น หากมีหลักฐานยืนยันชัดเจน ก็เปิดเผยได้อยู่แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมดำเนินการตามกฎหมาย เพราะเป็นการแอบอ้างหาประโยชน์ ซึ่งไม่สมควรให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศกำลังประสบปัญหาการระบาดโควิด-19 แต่ถ้าไม่มีหลักฐาน เป็นการพูดลอยๆ ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อดิสเครดิตนายกฯ และรัฐบาล เท่ากับเป็นการนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อภาครัฐจำเป็นต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย คนเหล่านี้ก็มักจะออกมาเรียกร้องว่า เป็นการละเมิดสิทธิ ปิดหูปิดตาประชาชนซึ่งเป็นรูปแบบของขบวนการเฟคนิวส์ และต้องการให้เกิดความเข้าใจผิดในสังคม   
        “เชื่อว่าสังคมพอจะเข้าใจถึงเจตนาของกลุ่มคนดังกล่าว หลายคนก็เป็นกลุ่มคนที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาล และนิยมชมชอบกลุ่มการเมืองบางกลุ่ม จุดยืนทางการเมืองของคุณดวงฤทธิ์ก็ชัดเจน พอถูกจับได้ไล่ทัน ก็อ้างว่า ชนตอ มีอันตรายถึงตาย ไม่ขอพูดถึงเรื่องนี้อีก ทั้งที่หากไม่มีเจตนาก็ควรออกมาชี้แจงข้อเท็จจริง เหมือนมีเจตนาให้สังคมสับสนไปเรื่อยๆ ซึ่งกรณีของคุณดวงฤทธิ์ ถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังรวบรวมหลักฐาน และจะดำเนินการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาดแน่นอน” นายชัยวุฒิ  กล่าว...  
ที่มา : https://www.dailynews.co.th/politics/846438/


ความรู้เพิ่มเติมจากคลิปวีดีโอ

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ปี 2560 ฉบับเข้าใจง่าย

ข้อควรรู้ความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

ข้อดี - ข้อเสีย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์










ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กิจกรรมที่ 5; Data for computer project